เมนู

[937] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น สุขินทรีย์
และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา.
[938] ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์
พึงเห็นเป็นทุกขเวทนา.
[939] ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น
อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
จบทุติยวิภังคสูตรที่ 7

8. ตติยวิภังคสูตร



ว่าด้วยอินทรีย์ 5 ย่นเข้าเป็น 3



[940] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์.. อุเบกขินทรีย์.
[941] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทาง
กาย . . .นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.
[942] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางกาย...นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
[943] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข
ทางใจ...นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.
[944] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์
ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

[ 945] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน
สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า
อุเบกขินทรีย์.
[946] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น สุขินทรีย์
และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา.
[947] ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์
พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.
[948] ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น
อทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์มี 5 ประการนี้ เป็น 5 แล้วย่นเข้าเป็น 3 เป็น 3
แล้ว ขยายออกเป็น 5 ก็ได้ โดยปริยายด้วยประการดังนี้แล.
จบตติยวิภังคสูตรที่ 8

9. อรหันตสูตร



อินทรีย์ 5 อาศัยผัสสะเกิดเวทนา



[949] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการนี้
เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.
[950] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า
เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น
คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป
สงบไป.